ฟุตบอลทีมชาติไทย กับปัญหาที่ควรแก้

ฟุตบอลทีมชาติไทย

สำหรับแฟนบอลในประเทศการติดตามเชียร์ “ฟุตบอลทีมชาติไทย” นับเป็นกิจกรรม ที่ปลุกเร้าอารมณ์ ได้ทุกครั้ง ยามมีทัวร์นาเมนต์ใหญ่ๆ ให้ติดตามรับชมกัน ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอลโลก , เอเชี่ยน คัพ หรือ ซีเกมส์ ก็ตามที

ซึ่งในตอนนี้มาถึงคราวของศึกระดับภูมิภาคอาเซียนอย่าง ซีเกมส์ ที่ขุนพลทัพ ช้างศึก มีภาระหน้าที่ตามเป้าหมาย ดด้วยการเดินทางไปป้องกันแชมป์ คว้าเหรียญทองกลับมาให้ได้ แต่เพียงแค่จุดเริ่มต้น ก็ตะกุกตะกักไม่สวยหรูเสียแล้ว

เพราะมีกระแสกองเชียร์ส่วนใหญ่ ที่มองว่า การบริหารจัดการทีม ไม่ได้รับความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนแบบที่ควรจะเป็น เรียกตัวผู้เล่นไปแบบขัดดใจ แถมถ้วยเล็กแบบนี้มันสมควรแล้วจริงหรือ? ที่จะเอากุนซือทีมชาติชุดใหญ่อย่าง มาโน่ โพลกิ้ง ไปคุมทัพให้เสียเวลาเปล่า

แม้ว่าคำกล่าวที่ว่า “ใครไม่เชียร์เราเชียร์” จะดังกึกก้องติดหูอยู่เสมอ แต่ผลงานในช่วงหลังของ ทีมชาติไทย กลับบั่นทอนกำลังใจกองเชียร์แบบต่อเนื่อง ประเด็นหนักที่สุด คือ การตกรอบ ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ด้วยการรั้งตำแหน่งรองบ๊วย เก็บได้แค่ 9 แต้ม จากการลงสนาม 8 นัด ทั้งที่อยู่ร่วมกลุ่มกับ อินโดนีเซีย, เวียดนาม, มาเลเซีย และ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ซึ่งเป็นงานที่ไม่หนักมากนัก

พยายามหาทางแก้ไขมาหลายครั้งหลายครา ก็ดูเหมือนว่า ไม่มีอะไรดีขึ้น จนเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า “ต้นตอของปัญหานี้ คืออะไรกันแน่?” บ้างก็ว่า โค้ชไม่เก่ง…บ้างก็ว่า สมาคมบริหารห่วยแตก บ้างก็โทษตรงๆ ไปที่ผลงานในสนามของนักเตะ

คำตอบที่แท้จริง ไม่มีใครสามารถรู้ได้ เพราะปัญหา มันกระจายอยู่ทุกภาคส่วน ซ่อนอยู่ตามจุดเล็กจุดน้อย พอมากระจุกรวมอยู่ในที่เดียวกัน กลับส่งเสียอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาทีม

แล้วปัญหาใดบ้างล่ะ? ที่ฉุดรั้งวงการฟุตบอลไทย ให้หยุดพัฒนา แล้วถอยหลังลงคลอง ที่หยั่งรากลึก แบบยากจะแก้

เว็บไซต์ ออฟพิชท์ ได้รวบรวมบทสรุป ที่เป็นการนำเอาหลากหลายปัจจัย มาวิเคราะห์โดยองค์รวม เอาไว้ในบทความนี้แล้ว โดยไม่ได้มีเจตนา โจมตี หรือ ดิสเครดิต ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่ง แฟนบอลอย่างเราๆ ท่านๆ จะได้สมหวังกับเขาเสียที

ปัญหาแรกของ ฟุตบอลทีมชาติไทย

สิ่งแรกที่ต้องเร่งแก้ คือ ทัศนคติของ “แฟนบอล” จริงที่ว่าการให้กำลังใจนั้นไม่ผิด การตามเชียร์เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การที่มองว่า ทีมชาติของเรา มีศักยภาพดีพอ ที่จะไปลุยศุึก ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย นั้นเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ที่แทบไม่เป็นจริงเลย

สื่อต่างๆ เกี่ยวกับฟุตบอล มักจะอวยนักเตะไทยอยู่เสมอว่า ความสามารถเรื่องฝีเท้า ไม่ได้เป็นรองนักเตะสเปน บราซิล หรือ ทีมชาติอื่นๆ ที่มีรูปร่าง ใกล้เคียงกัน หากพัฒนาผู้เล่นแบบถูกทิศถูกทาง สามารถไปเล่นบนลีกชื่อดังอย่าง พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ได้แน่นอน

แต่นั่นเป็น ชุดความคิดที่ถูกต้อง แล้วจริงหรือ? หากลองมองในเรื่องของโอกาสของ นักเตะชื่อดังในทวีปอเมริกาใต้ และ แอฟริกา ที่ก้าวไปโด่งดัง ค้าแข้งอยู่ในยุโรป หรือ ลีกชั้นนำ แต่ละคนไม่ได้มีสภาพชีวิตที่สวยหรู หรือ ดูดีเลยแม้แต่น้อย

หลุยส์ ดิอาซ, ซาดิโอ มาเน่, เนย์มาร์ และ อีกหลายๆ คน ที่มีฝีเท้าระดับพระกาฬ ที่เอ่ยชื่อไม่หมด ล้วนเริ่มต้นจากการเตะบอลข้างถนน ไม่มีแม้แต่รองเท้าสตั๊ด ต้องดิ้นรน เพื่อความอยู่รอด แต่มีใจรักจริงในกีฬาฟุตบอล

วลีที่ว่า “ไม่มีใครเก่งตั้งแต่เกิด” ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ แต่พอพวกเขาหล่านั้น ได้รับโอกาส เข้าสู่โปรแกรมการฝึกที่ถูกต้อง พวกเขากลับคว้าเอาไว้ได้ ก้าวไปเป็นสตาร์ระดับโลก รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับฝีเท้า โดยมีสโมสรยักษ์ใหญ่พร้อมอ้าแขนรับ แทบนับไม่ถ้วน

มองมาที่นักเตะไทย แฟนบอล ที่ติดตามข่าวสารแบบจริงจัง มักจะได้ยินชื่อ เยาวชนทีมชาติ ที่ถูกสื่อยกให้มีฝีเท้าฉกาจ กันแทบนับไม่ถ้วน แต่ทำไมพอเวลาผ่านไป แค่ราวสี่ถึงห้าปี รายชื่อเหล่านั้น กลับหายไปในกลีบเมฆ เหมือนไม่เคยมีอยู่จริง

แน่นอนว่า ความเชื่อผิดๆ ที่เริ่มฮิตกันช่วง บอลไทยฟีเวอร์ ว่าการเป็นนักเตะอาชีพ นั้นจะทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ เป็นตัวบั่นทอนที่สำคัญ ที่อันตรายอย่างที่สุด การันตีเลยว่า หากนักเตะดาวรุ่งสักคน มีฝีเท้าเด่นในไทย โชว์ฟอร์มดีในรายการไหนก็ตาม

แมวมองจาก ไทยลีก ของแต่ละสโมสร ต่างพร้อมยื่นข้อเสนอ ทั้งเบี้ยเลี้ยง ที่พัก ทุนการศึกษา ต่างๆ นาๆ เพื่อประมูลดาวเตะคนนั้น เข้าไปสังกัดสโมสรตัวเอง แต่พอมีบังเกอรืคอยรองรับแล้ว เกินกว่าครึ่งที่ได้รับโอกาส พออยู่ในระบบระเบียบ นานเข้าๆ

ความกระหาย ความรักในฟุตบอล กลับลดทอนลงไป อย่างไม่น่าเชื่อ พอมีเงิน การออกนอกลู่นอกทาง ไปสู่สิ่งเร้าแย่ๆ ต่างๆ นาๆ กลับพรากอนาคต ในการก้าวเป็นยอดนักเตะ ไปหลายรายนับไม่ถ้วน

มีนักเตะไทยกี่รายกัน ที่สามารถเชิดหน้าชูตา เป็นผู้เล่นที่ออกไปค้าแข้ง ในลีกชั้นนำนอกประเทศได้ เอาแค่ เจ ลีก ประเทศญี่ปุ่น ยังใช้เวลานับไม่ถึงนาทีด้วยซ้ำ เพราะต้องยอมรับว่า ฝีเท้านักเตะเรา ไม่ได้ถึงขั้นที่ลีกอาชีพ เขาตีเกรดให้ว่าดีพอ หรือ ผ่านเกณฑ์

แต่พอประเทศไทย มีลีกอาชีพ ที่รองรับนักเตะ ให้มีเวทีได้แสดงฝีเท้า มองเผินๆ ว่าจะเป็นผลดี แต่การใช้จ่ายที่โอเวอร์ ซื้อตัวกันด้วยเม็ดเงิน ที่ไม่ได้สมเหตุสมผล ของสโมสรยักษ์ใหญ่ กลับทำลายระบบที่ควรจะเป็น แหลกซะไม่มีชิ้นดี

มองง่ายๆ แค่วัดจากสถิติค่าตัวนักเตะ ที่มีการซื้อขายแพงที่สุดในไทยลีก ปาเข้าไปกว่า 50 กว่าล้านบาท แต่มองไปที่ เจ ลีก ประเทศญี่ปุ่น ดีลการส่งออกนักเตะของเขา กลับค่าตัวถูกกว่าแทบจะครึ่งต่อครึ่ง

หากให้สโมสรอาชีพในยุโรป มาเลือกช็อปปิ้งนักเตะ ตำแหน่งเดียวกัน ขายราคาเท่ากัน วิเคราะห์ตามความเป็นจริง คิดว่า ทีมต่างๆ ที่มีศักยภาพในการซื้อ จะเลือกนักเตะจากลีกไหน? ถึงจะคุ้มค่ามากกว่า

ปัญหาต่อเนื่องของ ฟุตบอลทีมชาติไทย

ปัญหาที่เป็นเอฟเฟกต์ต่อเนื่อง มาจากประเด็นแรก ย่อมหนีไม่พ้น การทุ่มซื้อนักเตะ การทุ่มจ้างนักเตะ แบบไม่มีลิมิตของไทยลีก มันดูไร้ความสมเหตุสมผล แล้วเป็นหนึ่งในปัจจัย ที่บ่อนทำลายนักเตะ ไปพร้อมๆ กัน ทั้งที่รางวัลของทีมแชมป์ ในแต่ละฤดูกาล แทบไม่เพียงพอ ต่อการจ่ายค่าแรงนักเตะ

ของทีมยักษ์ใหญ่บางทีม แค่เดือนเดียวด้วยซ้ำ แล้วสโมสรจะมีรายได้เพียงพอ ในการบริหารทีม ให้มีงบประมาณสมดุลย์ ได้อย่างไรกัน? ตั๋วเข้าชมราคาหลักร้อย แฟนบอลเข้าชมต่อเกม อยู่ที่หลักพัน บางเกมแทบไม่มีผู้ชม ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ปัจจุบันยังเคลียร์กันไม่ลงตัว

มีนักลงทุนประเภทไหนบ้าง? ที่อยากทำธุรกิจที่ขาดทุน หากหาไม่เจอ ลองมาค้นดูที่ประเทศไทย รับรองแค่เฉพาะไทยลีก ก็ทำให้เซอร์ไพรส์วงการลงทุนแบบไม่คาดฝันแล้ว ผลเสียสุดท้าย ก็เกิดกับตัวนักเตะเอง ที่ไม่ได้ลงเล่นอย่างสม่ำเสมอ จนหยุดการพัฒนา ไปอย่างน่าเสียดาย

ลงลึกในเรื่องค่าจ้าง หากเป็นนักเตะดีกรี ที่ติดทีมชาติชุดใหญ่ หลายสื่อประโคมว่า จ้างกันต่อเดือนหลายแสน ถ้าเป็นซูเปอร์สตาร์ชุดใหญ่ ไหลกันไปยาวๆ อยู่ระดับเจ็ดหลัก เมื่อไปเทียบเคียงกับค่าเหนื่อยของ นักเตะที่ค้าแข้งอยู่ใน พรีเมียร์ลีก อังกฤษ

เอาแค่ทีมระดับกลาง ค่อนไปทางล่าง สามารถจ้างตัว ที่เรียกเงินระดับ สองถึงสามหมื่นปอนด์ ได้แบบสบายๆ … ลองวัดดีกรีกันตามความเป็นจริง ถ้าคุณเป็นผู้บริหารสโมสร ให้เลือกนักเตะจากสองลีกนี้ มองดูคุณภาพแล้ว ถามตัวคุณเองจริงๆ ว่าต้องการจ้างใคร?

การสปอยล์นักเตะแบบนี้ ทำให้ลดทอนแพสชั่น ความกระหายยามลงเล่น ไม่จำเป็นต้องได้แชมป์ ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จใดๆ ยังไงก็รับค่าจ้างก้อนโต แล้วผลงานก็อย่างที่เห็น เมื่อนักเตะค่าเหนื่อยแพง ต้องออกไปเล่นเกมทีมชาติ ความกระหายที่ลดลงไป

ความมุ่งมั่นที่แทบไม่เหลือ ผลงานในสนาม มันฟ้องออกมาทั้งหมด ลองสังเกตุดีๆ มีนักเตะทีมชาติชุดปัจจุบันคนไหนบ้าง? ที่สามารถวิ่งได้เกิน 70 นาที ถ้าหากนำการเล่นในปัจจุบัน มาเทียบกับตอนที่ยังไม่ดัง หลายคนคงต้องมีอายกันบ้าง แต่ไม่ว่าผลงานทีมชาติ ตกต่ำแค่ไหน

ถามว่าพวกเขาได้รับผลกระทบไหม เต็มที่ก็รับแรงกระแทก จากสื่อโซเชี่ยล ที่แทบไม่ได้ส่งผลใดๆ ให้ต้องรู้สึกสำนึก เลยแม้แต่น้อย

สรุปองค์รวม

สุดท้ายก็หนีไม่พ้นเรื่องขั้วอำนาจ ที่ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย ก็แบ่งกันเป็นสองฝั่ง ไม่ต่างกับการเมือง ฝั่งใดได้รับผลประโยชน์ อีกฝั่งต้องหาทางโจมตี หาจุดบอดในการบริหาร พอเปลี่ยนผู้กุมบังเหียน ก็วนลูปมาแบบเดิมๆ

สิ่งที่จูงใจ ให้หลายคนอยากชิงเก้าอี้ นายกสมาคมฟุตบอล คงหนีไม่พ้น การได้มีโอกาส บริหารงบประมาณ ที่ถูกอัดฉีดมาแบบเต็มพิกัด ตรงกันข้ามกับผลงาน ที่ไม่เคยไปไกลถึงไหนเลย

ต่อให้ได้โค้ชเก่งแค่ไหน แต่ถ้าไร้บารมี คุมนักเตะไม่อยู่ ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ แล้วบทสรุปของ แฟนบอลชาวไทย ก็ยังยึดติดกับภาพความสำเร็จเก่าๆ เรียกร้องให้เอาโค้ชเดิมกลับมาบ้าง ไม่มูฟออน หรือยอมรับในการวางรากฐานใหม่ ที่แทบต้องเริ่มจากศูนย์ คงยากที่จะเห็นทีมชาติไทย

ได้ไปเวทีฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย นอกจากคณะกรรมการฟีฟ่า ลงมติให้เป็นเจ้าภาพ ซึ่งแทบจะไร้ความหวังพอๆ กัน

เว็บไซต์ ออฟพิชท์ มุ่งเน้นการนำเสนอ ข่าวสารที่น่าสนใจ จากวงการฟุตบอลทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือ นอกประเทศ ประเด็นไหนที่กำลังร้อนตามกระแส ไม่มีทางปล่อยผ่านให้หลุดมือ พร้อมตีแผ่ให้ลึกแบบถึงกึ๋น ติดตามพวกเราไว้ รับรองได้ว่า ไม่มีตกเทรนด์แน่นอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *